Chapter 10 ระบบประเมินอาคารเขียว (Green Building Rating System)
Updated: Jun 12, 2019
Green way
Chapter 10 ระบบประเมินอาคารเขียว (Green Building Rating System)
อย่างที่เราเห็นกันในทุกวันนี้ อะไรอะไร ก็จะกรีน กันไปหมด ยิ่งเฉพาะกับเรื่องอาคารประหยัดพลังงาน ต่างคนก็ต่างว่าของตัวเองเป็นอาคารเขียว เพราะว่าการ develop อาคารเขียวเริ่มได้รับความสนใจจากผู้บริโภค ก็เลยจำเป็นต้องมีการตรวจวัด การประเมินเกิดขึ้น
ผมจำได้ว่าข้อสรุปเกี่ยวกับ เจ้า Green Building Rating System นี้ ดร.พร วิรุฬรักษ์, LEED AP และอาจารย์ ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ซึ่งเป็นรุ่นพี่ของผมได้กล่าวไว้ได้รวบรัดหมดจดว่า “จริงๆแล้วมันก็เปรียบได้กับไม้บรรทัดนี่แหละ ที่ใช้วัด green building ต่างๆ บนสเกลเดียวกัน เราจะได้รู้ว่าอาคารไหน green กว่ากัน”
ไม้บรรทัดที่ว่านี้ตอนนี้ทั่วโลกมีหลายอันอยู่นะครับ ระบบที่อเมริกาเรียกว่า LEED, ของอังกฤษเรียกว่า BREEAM, ของ ญี่ปุนก็มี CASBEE , ของสิงคโปร์เพื่อนบ้านเราก็มีระบบ GREEN MARK ของไทยเราก็มีนะครับ ตอนนี้มีอยู่สองระบบชื่อ TEEAM (Thailand Energy& Environmental Assessment Method) ที่พัฒนาโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กับ TREES (Thai’s Rating of Energy and Environmental Sustainability) พัฒนาโดย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) และสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นกรมควบคุมมลพิษ และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เข้าร่วมเป็นกรรมการ
ในระบบทั้งหมดนับ LEED ของ อเมริกาได้รับความนิยมที่สุด อาจเนื่องด้วยการแบ่งระดับของอาคารเขียวออกเป็น 4 ระดับ certified, silver, gold, platinum เหมือนบัตรเครดิต และความง่ายต่อการเข้าใจสำหรับผู้ที่สนใจ ดั้งนั้น จึงอยากที่จะยก LEED ขึ้นมาเป็นตัวอย่างในการ ศึกษาการทำงานของ “ไม้บรรทัด” ที่ว่านี้
U.S. Green Building Council (USGBC) เป็นองค์กรอิสระที่จัดตั้งขึ้นมาโดยความร่วมมือของหลากหลายสาขาอาชีพเพื่อที่จะจัดตั้ง องค์กรที่เป็นผู้นำในการกำหนดมาตรฐานอาคารเขียวในประเทศของเขา ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก จนถึงขั้นที่ในบางรัฐ ในนำมาตรฐานของ LEED ไปใส่เป็นกฏหมาย ของรัฐนั้นเพื่อทำให้เกิดมาตรฐานที่สูงขึ้นในการบังคับการก่อสร้างที่ส่งผลกระทบเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อม
จนถึงวันนี้ เป็นเวลา 18ปีแล้ว ที่ LEED ได้ผ่านการพัฒนาปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับกาลเวลา รวมถึง ประเภทและชนิดของอาคาร และกำลังจะก้าวไปถึงขั้นที่ พิจารณาอาคารตามภูมิภาค
ประเภทของ โครงการ แบ่งเป็น
HOMES (LEED HOMES) สำหรับบ้านพักอาศัย
NEIGHBORHOOD DEVELOPMENT ( LEED ND) สำหรับโครงการที่มีอาคารมากกว่า 2 หลังขึ้นไป และ MASTER PLANNING
COMMERCIAL INTERIOR (LEED CI) สำหรับออฟฟิต หรือร้านค้าที่จะเข้าไปเช่าตกแต่งอยู่ภายในอาคารอื่น
CORE & SHELL (LEED CS) สำหรับอาคารที่สร้างมาให้เช่า (สร้างเปลือกอาคารและส่วนกลาง ที่เหลือเป็นพื้นที่ว่างๆให้เช่า
NEW CONSTRUCTIONS (LEED NC) สำหรับอาคารที่จะทำการก่อสร้างขึ้นใหม่ โดยไม่ได้มีการจำกัดชนิดของอาคาร
SCHOOL, HEALTH CARE, RETAILS สำหรับ อาคารประเภท โรงเรียน สถานพยาบาล และร้านค้า โดยเฉพาะ
EXISTING BUILDINGS OPERATIONS & MAINTAINANCE สำหรับการดูแลจัดการอาคารเมื่ออาคารสร้างเสร็จแล้ว
โปรดติดตาม เรื่องของรายละเอียดและหัวข้อการให้คะแนน ของ LEED ใน Green Way ฉบับหน้า นะครับ
Recent Posts
See AllGreen Way Chapter 15 : การออกแบบบ้านเพื่อการป้องกันความร้อน การออกแบบบ้านโดยเน้นเรื่องการติดแอร์ให้ประหยัดพลังงานในบ้านเพื่อทำให้บ้านเย็น...
Green way Chapter 14: การใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในอาคาร วันนี้เรื่องที่เราจะพูดถึงกันเป็นหมวดที่สองที่อยู่ในการประเมินอาคารของ...
Green way Chapter 13: ที่ตั้งโครงการอย่างยั่งยืนในนิยามของ LEED (3) “เสียสละเพื่อส่วนรวม” คำๆนี้ พูดง่ายแต่ทำยากนะครับ เพราะว่า...
Comments