chapter 5 : ระบบประตูหน้าต่าง รูปแบบใหม่สำหรับห้องนอน
Updated: Jun 12, 2019
Green way
chapter 5 : ระบบประตูหน้าต่าง รูปแบบใหม่สำหรับห้องนอน
อย่างที่เราทราบกันดีว่าห้องนอนน่าจะเป็นห้องที่ สะอาด ปลอดภัย และน่าสบายที่สุดในบ้าน รูปแบบของการใช้งานของประตูหน้าต่างที่เราคุ้นเคยกันดีน่าจะเป็นลำดับของสิ่งต่างๆต่อไปนี้จากภายใน ถึงภายนอก
ผ้าม่าน > มุ้งลวด > เหล็กดัด > บานประตู,หน้าต่าง
ปัญญาหาที่เราพบเจอกันอยู่ประจำก็คือ
ผ้าม่านที่อยู่ภายในห้องนอนมักทำตัวเป็นตัวเก็บฝุ่น ที่ดีอยู่เสมอ
เวลาจะเปิดหน้าต่างรับลมที ต้องเปิด มุ้งลวด ยืนมือออกไปผ่านช่องเหล็กดัดเล็กๆ ทำให้รู้สึกว่า นี่เราแขนสั้นไปรึเปล่าทำไมจะเปิดหน้าต่างทีช่างยากเย็น
บานประตูหน้าต่างบานชนิด ปล่อยให้อากาศไหลเข้าออกได้มากเกินไปในเวลาที่มันปิดสนิท เช่น หน้าต่างไม้ และ อลูมิเนียมบางแบบ
เวลาที่เปิดประตูหน้าต่างเพื่อให้ลมเข้าก็รู้สึกว่าไม่เป็นส่วนตัวเพราะ หน้าต่างบ้านข้างๆอยู่ห่างออกไปไม่กี่เมตร
เพราะฉะนั้น วันนี้ผมจึงอยากจะพูดคุยเรื่อง รูปแบบของระบบหน้าต่างแบบใหม่ที่น่าจะตอบรับการใช้งานสำหรับผู้ที่ เปิดแอร์เป็นบางเวลา เปิดหน้าต่างรับลมบ้างเป็นบางเวลาครับ
ลองนึกภาพตามนะครับ จากภายใน ถึงภายนอก
มุ้งลวดแบบม้วนเก็บได้ > บานประตูหน้าต่าง > แผงกันแดด (ระแนง) แนวตั้งเลื่อนเปิดได้
ด้วยการที่เราใช้ แผงกันแดดภายนอกอาคาร ทำหน้าที่แทน
ม่าน (กันแดดและให้ความเป็นส่วนตัว)
เหล็กดัด (ความรู้สึกปลอดภัย)
ข้อที่แตกต่างจากระบบปกติก็คือ
เมื่อไม่มีม่านทำให้ปัญหาเรื่องการเก็บฝุ่นที่ผ้าม่านหมดไป
การใช้มุ้งแบบม้วนเก็บได้ ทำให้เรามองเป็นภายนอกได้ชัดเจนขึ้น และตัวมุ้งลวดไม่เป็นตัวเก็บฝุ่น เมื่อต้องการเปิดหน้าต่างจึงกางออกเท่านั้น
การกันแดดภายนอกอาคารทำให้ความร้อนไม่เข้ามาภายในอาคารทางช่องหน้าต่าง และไม่ทำให้ความร้อนสะสมด้านในของหน้าต่างเหมือนม่านภายใน
หากมีข้อแนะนำติชม หรือมีคำถามติดต่อได้ที่ raksak@green-dwell.com นะครับ
โปรดติดตาม Green way ได้ใหม่ในฉบับหน้านะครับ
Recent Posts
See AllGreen Way Chapter 15 : การออกแบบบ้านเพื่อการป้องกันความร้อน การออกแบบบ้านโดยเน้นเรื่องการติดแอร์ให้ประหยัดพลังงานในบ้านเพื่อทำให้บ้านเย็น...
Green way Chapter 14: การใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในอาคาร วันนี้เรื่องที่เราจะพูดถึงกันเป็นหมวดที่สองที่อยู่ในการประเมินอาคารของ...
Green way Chapter 13: ที่ตั้งโครงการอย่างยั่งยืนในนิยามของ LEED (3) “เสียสละเพื่อส่วนรวม” คำๆนี้ พูดง่ายแต่ทำยากนะครับ เพราะว่า...
Commenti